Move for Anything.

Move to Anywhere.

Move with Conair.

WE SPECIALIZED IN TOTAL LOGISTICS. THAILAND'S TOP FREIGHT FORWARDER. ONE-STOP SERVICE PROVIDER.

เกี่ยวกับ

บริษัท คอนแอร์ อินเตอร์ทราฟฟิค จำกัด

ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เป็นเวลามากกว่า 20 ปีที่ทางบริษัทได้ให้การบริการทางด้านการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษาเรื่องการขนส่ง สอบถามเรทราคา การจัดเตรียมเอกสาร ขอใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก จอง Sea Freight - Air Freight - รถบรรทุกสินค้า ไปจนถึงบริการแพ็คสินค้า เช่าโกดังเพื่อจัดเก็บ กระจายสินค้า และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย

บริษัท คอนแอร์ อินเตอร์ทราฟฟิค จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การบริการและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งทางทะเลและทางอากาศ ให้กับผู้ที่ต้องการส่งออกและนำเข้า ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง รวมไปถึงขนาดใหญ่อย่างภาครัฐ ภายหลังจากนั้นจึงขยับขยายมาเป็นบริษัทที่ให้การบริการทางด้านขนส่งระหว่างประเทศแบบครบวงจร โดยทางบริษัทฯ มีการให้บริการต่าง ๆ ดังนี้

  • บริการขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งขาเข้าและขาออก
  • บริการด้านพิธีการศุลกากร ทั้งขาเข้าและขาออก
  • บริการจัดทำเอกสาร แบบฟอร์มต่าง ๆ
  • บริการด้านการบรรจุหีบห่อสินค้า
  • บริการด้านการจัดเก็บสินค้า และกระจายสินค้า
  • บริการด้านประกันภัย
  • บริการขนส่งทางบก ทั้งภายในประเทศและข้ามแดน (Cross Border)
  • บริการเช่าเรือเหมาลำ (Chartering)
  • บริการขนส่งถึงหน้าประตู (Door-to-door)
  • บริการขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods Cargo)

โดยเทอมของการขนส่งหลัก ๆ ที่ทางบริษัทได้ให้บริการนั้น มีตั้งแต่ EXW (Ex-Work), DDP (Door to Door), FOB (Free on board), CIF (Cost-Insurance-Freight), C&F (Cost & Freight) และอื่น ๆ แล้วแต่ที่ผู้ใช้บริการต้องการ

บริการของเรา

ผลงานของเรา

นำเข้าสินค้า
ส่งออกสินค้า
บรรจุหีบห่อ
รถบรรทุกขนส่งสินค้า
งานโปรเจค
งานสินค้าที่มีขนาดใหญ่

ถามตอบ

    รายละเอียดต่าง ๆ ที่ลูกค้าควรจะนำให้กับทางบริษัท มีดังนี้
      - ประเภทของการขนส่ง (ทางเรือ/ทางอากาศ/ทางบก)
      - ต้นทาง และ ปลายทางที่ต้องการขนส่ง
      - รายละเอียดของสินค้า
        o ประเภทของสินค้า
        o จำนวนของสินค้า
        o น้ำหนักของสินค้า
        o ขนาดของสินค้า
                
              FCL (Full Container Load) คือการขนส่งแบบบรรจุเต็มตู้ ไม่ต้องแชร์ตู้คอนเทนเนอร์กับลูกค้ารายอื่น
    ข้อดี คือ สามารถเคลียร์ศุลกากรได้เร็วกว่า เมื่อตู้มาถึงแล้วสามารถเคลียร์ของออกได้เลยภายใน 1-2 วัน หลังจากยกตู้ลง
    ไม่ต้องรอเปิดตู้เหมือน LCL นอกจากนั้นยังสามารถลากตู้ไปโหลดของออกที่โกดังหรือสถานที่ของลูกค้าได้เลย
    
    ข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบ LCL เนื่องจากต้องมีการคิดค่าระวางเป็นหน่วยต่อตู้
    
              LCL (Less Container Load) คือการขนส่งแบบบรรจุไม่เต็มตู้ ซึ่งจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายรวมกันมาในตู้คอนเทนเนอร์
    ข้อดี คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าจำนวนน้อยหรือ เป็นสินค้าใช้พื้นที่น้อย
    เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าระวางเต็มตู้ มีการคิดค่าระวางเป็นหน่วย คิวบิกเมตร(cbm.)
    
    ข้อเสีย คือ จะต้องมีการรอเปิดตู้ ซึ่งลูกค้าแต่ละรายจะต้องติดต่อเช็คกับ Freight Forwarder
    ก่อนว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มีสินค้าของเราอยู่นั้น จะมีกำหนดเปิดตู้เมื่อไหร่ ซึ่งอาจจะมีกำหนดเวลาประมาณ 3-5 วัน
    หลังจากเรือเข้าท่าเรือแล้ว และ สินค้าที่ส่งแบบ LCL จะต้องมีการบรรจุหีบห่อที่รัดกุมป้องกันความเสียหายของสินค้า
    เนื่องจากสินค้าในตู้มีความหลากหลาย และอาจมีการวางทับซ้อนกัน อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้
    
    
              Incoterms (International Commercial terms) หมายถึงเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อ ทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย
    ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น INCOTERM แบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 ประเภท
    ซึ่งทำการอธิบายโดยย่อดังต่อไปนี้
    
    1. EXW (Ex Works) ผู้ขายจัดเตรียมสินค้าเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขาย
    โดยผู้ซื้อจะต้องรับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำสินค้าออกจากจุดส่งมอบไปยังปลายทาง
    
    2. FCA (Free Carrier) ผู้ขายรับผิดชอบการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ที่ทำการขนส่ง (Carrier)
    ซึ่งจัดเตรียมโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขนส่ง หลังจากนั้น การขนส่งสินค้าไปยังปลายทางและความเสี่ยงต่าง ๆ
    จะตกเป็นของผู้ซื้อ
    
    3. FAS (Free Alongside Ship) ผู้ขายจัดการรับผิดชอบการขนส่งและค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าไปยังกาบเรือ ณ
    ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่การนำของขึ้นเรือ การทำพิธีการส่งออก การขนส่งสินค้า
    รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ นั้นตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ
    
    4. FOB (Free On Board) ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงจนกระทั่งได้นำสินค้าข้ามกาบเรือไปบนเรือขนส่งสินค้า ณ
    ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายยังต้องรับภาระทำพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
    และความเสี่ยงหลังจากนั้นตกเป็นของผู้ซื้อ
    
    5. CFR (Cost and Freight) ผู้ขายจะรับภาระส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือไปบนเรือสินค้า และรับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก
    รวมถึงจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight) ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า
    และความเสี่ยงหลังจากสินค้าผ่านกาบระวางเรือขึ้นไปบนเรือ ตกเป็นของผู้ซื้อ
    
    6. CIF (Cost, Insurance & Freight) ผู้ขายทำหน้าที่ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือไปบนเรือสินค้า
    รวมถึงรับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือ (Freight) ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า (Insurance) ไปจนถึงท่าเรือปลายทาง
    
    7. CPT (Carriage Paid To) ผู้ขายจะทำการส่งมอบสินค้า ให้กับผู้ขนส่ง (Carrier) ที่กำหนดโดยผู้ซื้อ ณ
    สถานที่ของผู้ขนส่งสินค้าต้นทาง ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight)
    ขณะที่ความเสี่ยงเป็นของผู้ซื้อเมื่อสินค้าถูกส่งให้กับผู้ขนส่งที่ต้นทาง
    
    8. CIP (Carriage and Insurance Paid To) ผู้ขายรับผิดชอบการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ขนส่ง (Carrier) ที่กำหนดโดยผู้ซื้อ ณ
    สถานที่ของผู้ขนส่งต้นทาง และค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก ค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight) และค่าประกันภัยสินค้า
    (Insurance) ให้ด้วย แต่ความเสี่ยงเป็นของผู้ซื้อตั้งแต่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ขนส่ง
    
    9. DAT (Delivered At Terminal) ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้า โดยรับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่าย
    และความเสี่ยงทั้งหมดไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะไปยังอาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือหรือปลายทางที่ระบุไว้
    
    10. DAP (Delivered At Place) ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ยกเว้น ภาษี และพิธีการนำเข้า
    และรับความเสี่ยงทั้งหมดในการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ตกลงกันไว้
    
    11. DDP (Delivered Duty Paid) ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้าไปจนถึงสถานที่ปลายทาง โดยผู้ขายรับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก
    จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า การนำของลงจากเรือ ดำเนินพิธีการนำเข้า และชำระภาษีนำเข้าแทนผู้ซื้อ
    และชำระค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ด้วย
     
logo-footer
โดยเทอมของการขนส่งหลัก ๆ ที่ทางบริษัทได้ให้บริการนั้น มีตั้งแต่ EXW (Ex-Work), DDP (Door to Door), FOB (Free on board), CIF (Cost-Insurance-Freight), CFR (Cost & Freight) และอื่น ๆ แล้วแต่ที่ผู้ใช้บริการต้องการ
              - เป็นบริการรมยาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เช่น ลังไม้ทึบ (Case), แผ่นไม้รองรับสินค้า (Pallet), กล่องไม้ (Packing
    Block), ถังไม้ (Drums), ลังไม้โปร่ง (Crate), ไม้รองมุมกันกระแทก (Pallet Collars), ไม้รองลาก (Skids) ไม้กันกระแทก
    (Dunnage) เป็นต้น เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชที่คาดว่าจะมีโอกาสติดไปกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้ โดยที่ทางบริษัทฯจะติดต่อกับผู้ให้บริการ fumigation
    ที่ขึ้นทะเบียนไว้และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเพื่อทำการรมยา และเมื่อได้รับการรมยาแล้วทางผู้ให้บริการจะประทับตราที่บรรจุภัณฑ์ไม้ 
    เป็นเครื่องหมาย IPPC และจะออกใบรับรองการรมยาให้ด้วย (Fumigate Certificate) และ เนื่องจากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะต้องทำการบรรจุหีบห่อ 
    หรือแพ็คกิ้งเพื่อให้สินค้าปลอดภัย และสะดวกในการขนส่งหรือเคลื่อนย้าย จึงมีการใช้วัสดุไม้เป็นวัสดุในการบรรจุภัณฑ์ เพราะว่า เป็นวัสดุที่ หาง่าย ราคาไม่แพง
    และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ อาจเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการขนส่งไปประเทศต่าง ๆ
    จึงเป็นการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้ คณะ ทำงานภายใต้อนุสัญญา
    สำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ หรือ ISPM (International Standards for Phytosanitary Measures)
    จึงได้จัดทำมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศขึ้น นั้นคือ International Plant Protection Convention (IPPC) หรือ
    อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมภาคีอนุสัญญา IPPC นี้ด้วย
    ดังนั้นเพื่อควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืช และเป็นมาตรฐานสากล จึงกำหนดให้
    ต้องได้รับการกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนการส่งออก ด้วยการรมยา (Fumigation)           
    
              BOI (Board of Investment) หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นหน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 
    เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดจนถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    โดยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ กับนักลงทุนที่สนใจให้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตและส่งออก
    หมวดที่ 1: เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร (เช่น การผลิตแป้งแปรรูป การผลิตอาหารทางการแพทย์)
    หมวดที่ 2: แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน (เช่น กิจการสำรวจแร่ กิจการผลิตแก้ว เซรามิกส์ ท่อเหล็ก วัสดุก่อสร้าง)
    หมวดที่ 3: อุตสาหกรรมเบา (เช่น การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน การผลิตของเล่น การผลิตสิ่งทอ)
    หมวดที่ 4: ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง (เช่น การผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วน การผลิตเครื่องยนต์)
    หมวดที่ 5: อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการซอฟต์แวร์
    กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์)
    หมวดที่ 6: เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ (เช่น กิจการผลิตยา กิจการผลิตสิ่งพิมพ์ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากกระดาษ)
    หมวดที่ 7: กิจการบริการและสาธารณูปโภค (เช่น กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน กิจการขนส่งมวลชน การบริการทางการแพทย์
    กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว)
    หมวดที่ 8: การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (เช่น กิจการพัฒนา Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology,
    Digital Technology)
    
                
              ระบบ Paperless เป็นระบบที่กรมศุลกากรได้นำมาใช้ในการดำเนินการพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก
    เพื่อให้ขั้นตอนในการดำเนินการมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยระบบ Paperless จะใช้ในการจัดทำและส่งใบขนผ่านพิธีการ
    รวมถึงขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลโดยกรมศุลกากรได้นำข้อมูลจากทางผู้นำเข้าและตัวแทนผู้นำเข้าไปตรวจสอบกับทาง Freight forwarder
    หรือ เอเย่นต์ อีกครั้ง ก่อนที่จะอนุญาตให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ นอกจากนั้นระบบ Paperless
    ยังสามารถใช้ส่งข้อมูลใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List), ส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า (E-Manifest)
    และส่งข้อมูลชำระภาษีขาเข้า (E-Payment) ได้อีกด้วย
              ข้อดีของระบบ Paperless
                o ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรจากการใช้เอกสารจำนวนมากในการเดินพิธีการศุลกากร
                o ลดเวลาในการดำเนินการลงได้มาก รวมถึงสามารถลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์รับรองใบขนได้เลยผ่านระบบออนไลน์
                oเป็นระบบที่รวมข้อมูลการขนส่งจากหลายฝ่ายมาตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระเบียบก่อนที่จะประยุกต์ใช้และพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
                o มีการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น
    
 
                
                            

ติดต่อเรา

หากท่านเกิดข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ที่อยู่:

3-3/1 Conair Place ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120

อีเมล:

conair@conair.co.th

เบอร์โทร:

+66 2 295 0444 (อัตโนมัติ),

+66 87 047 4004

อินสตาแกรม:

@conairgroup_th

เฟสบุค:

facebook.com/conairintertraffic